มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่1. รัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ 2. องคมนตรีสภา ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัส ปฏิรูปองค์การบริหารในส่วนกลางใหม่ดังนี้กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเมือง กรมวัง กรมท่า และกรมนา คือ 6 กรมเดิมที่มีมาและต่อมาได้ตั้งขึ้นใหม่อีก 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการเข้ากับ กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงมุรธาธรรวมเข้ากับกระทรวงวัง คงเหลือ 10 กระทรวงดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งประเทศราศทางเหนือ
2. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง
3. กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ
4. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่จัดการในเรื่องความปลอดภัยในพระนคร
5.กระทรวงวัง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราชพิธีต่าง ๆ
6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่บังคับบัญชาการเก็บภาษีอากรและการเงินของแผ่นดิน
7. กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ มีหน้าที่จัดการเรื่องเพาะปลูก การป่าไม้ การค้า และโฉนดที่ดิน
8. กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับศาล
9. กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือ
10. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์
11. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้าง การไปรษณีย์ การสื่อสาร
12. กระทรวงมุรธาธร มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร หนังสือราชการเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ การปรับปรุงกฎหมายและการศาลโปรดฯ ให้รวบรวมศาลที่สังกัดกระทรวงและไม่สังกัดทั้งหมด มาขึ้นกับกระทรวงยุติธรรมนับว่าเป็นการแยกอำนาจ ตุลาการ ออกจาก ฝ่ายบริหารได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านการศาลมีดังนี้1. ศาลในกรุง โปรดฯ ให้ตั้ง ศาลโปริสภา สำหรับทำหน้าที่เปรียบเทียบคดีความวิวาทของราษฎรที่เกิดขึ้นในท้องที่ และเป็นคดีที่มีโทษขนาดเบา ต่อมา ศาลโปริสภา ได้เปลี่ยนเป็น ศาลแขวง เมื่อ 1 ตุลาคม 24782. ศาลหัวเมือง โปรดฯ ให้จัดตั้งกองข้าหลวงพิเศษ ขึ้นคณะหนึ่งมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นประธาน จัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมทั่วพระราชอาณาจักร ให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด กองข้าหลวงพิเศษชุดนี้ มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ
2.1 จัดตั้งศาลยุตธรรมสำหรับพิจารณาคดีขึ้นตามหัวเมืองทั้งปวงเสียใหม่
2.2 ชำระสะสางคดีความที่ค้างอยู่ในศาลตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป3. จัดแบ่งชั้นของศาล เพื่อให้ระเบียบการศาลยุติธรรมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อบเป็นหลักฐานมั่งคงยิ่งขึ้น ก็โปรดฯให้ตราพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2451 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ3.1 ศาลฎีกา3.2 ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ3.3 ศาลหัวเมืองสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมายมีดังนี้1. ได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา เช่นดร. โรลัง ยัคมินส์ ชาวเบลเยี่ยม ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น เจ้าพระยาอภัยราชาสยามมานุกูลกิจนายโตกีจิ มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยามหิธรรมนูปกรณ์โกศลคุณนายวิลเลียม อัลเฟรด ติลเลเก ชาวศรีลังกา ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์2. ได้โปรดฯให้ตั้ง กองร่างกฎหมาย สำหรับทำหน้าที่ตรวจสอบชำระบรรดาพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ตัวบทกฎหมายที่ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นประธาน3. ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมเป็นผู้อำนวยการ ด้วยเหตุนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จึงได้รับการว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย4. ยกเลิกการลงโทษแบบจารีตนครบาล จากผลการปฏิรูปการศาลและการชำระกฎหมายให้ทันสมัย ทำให้ การพิจารณาคดีแบบจารีตและวิธีลงโทษแบบป่าเถื่อนทารุณต่าง ๆ ได้ถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิงการทหารเริ่มการฝึกทหารตามแบบยุโรปเพื่อใช้ป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นการฝึกทหารเกณฑ์ แบบยุโรปเพื่อใช้เป็นทหารรักษาพระองค์เท่านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดฯ ให้ปรับปรุงกองทัพดังนี้1. ปรับปรุงหน่วยทหารในกองทัพใหม่ จัดแบ่งออกเป็น กรม กอง เหล่า หมวด หมู่ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมจัดอัตราเงินเดือนให้สอดคล้องกันและปรับปรุงอาวุธยุทธภัณฑ์ วิธีการฝึกตลอดจนเครื่องแบบให้ทันสมัยกำเนิดสถาบันกองทัพ2. ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก ตั้งโรงเรียนแผนที่ ตั้งโรงเรียนนายเรือ3. ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาการทหารในทวีปยุโรป อาทิ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช จบจากอังกฤษ เป็นเสนาธิการ ทหารบกคนแรกของไทย พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จบจากอังกฤษ เป็นนักเรียน นายเรือพระองค์แรก ของไทยและเป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย4. ตราพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 29 สิงหาคม 24485. สร้างเรือรบ อาทิ เรือพระที่นั่งจักรี เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง6. สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อป้องกันข้าศึกทางทะเลการตำรวจ ขยายกิจการตำรวจนครบาล ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร ตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้น เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายและดูแลทุกข์สุข ของราษฎรในส่วนภูมิภาค ตั้งกรมตำรวจภูบาลขึ้น เพื่อช่วยเหลือตำรวจภูธร ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ขึ้น ณ จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาย้ายมาตั้งอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จังหวัดนครปฐม
Siriard แตงโม
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ที่บังคับใช้เป็นกฏหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แทนพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการบริหารที่ยังคงจัดโครงสร้างหลักของการจัดระเบียบการบริหารราชการเป็นส่วนกลาง - ส่วนภูมิภาค - ส่วนท้องถิ่น เช่นเดิมโครง สร้าง กระทรวง ทบวง กรม ยังคงสภาพเดิมการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการของระบบบริหารราชการ จึงยังไม่บังเกิดขึ้นเช่นเดียวกันการจัดระเบียบบริหารราชการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 จึงยัง ไม่สามารถตอบสนองภารกิจ และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาที่รัฐต้องเผชิญเพิ่ม มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐบาลภายใต้การนำ ของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข โดยการแต่งตั้งคณะ กรรมการปฏิรูประบบและโครงสร้างของส่วนราชการ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการและ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อพิจารณาดำเนินการศึกษาและเสนอแนะแนว ทางในการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอให้มีการปรับปรุงโครงสร้างของระบบบริหารราชการแผ่นดิน โดยกำหนดความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างราชการ ส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค-ส่วนท้องถิ่นและเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นตั้งหน่วย การปกครองท้องถิ่นของตนได้เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนรวมทั้งได้มีการเสนอให้มีการ ปรับปรุงในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการในแต่ละส่วนด้วยนอกจากนี้นักวิชาการหลายท่านได้ทำการศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ ปรับปรุงระบบราชการที่น่าสนใจ อาทิเช่นกระมล ทองธรรมชาติ ศึกษาพบว่ามีปัญหาความซ้ำซ้อนกันภายในโครงสร้างของระบบบริหารราชการระหว่างกระทรวง แม้ภายในกระทรวงเดียวกันหรือกรมเดียว กันก็มีปัญหา (แม้ว่ารัชกาล ที่ 5 จะทรงปฏิบัติระบบราชการเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนใน ด้านพื้นที่และหน้าที่)ทั้งนี้ ถ้าจะทำการปฏิรูปต้องปฏิรูปที่โครงสร้างทั้งหมดทั้งโครงสร้างระหว่างกระทรวงโครงสร้างภายในกระทรวงและโครงสร้างภายในกรมเช่นเดียวกับการศึกษาของวรเดช จันทรศร ที่ศึกษาพบว่านับแต่มีการปฏิรูประบบ ราชการในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2435 เป็นต้นมาระบบราชการยังไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทั้งระบบอีกเลย การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหน่วยงาน (เพิ่มกรม/กอง) โดยที่ระบบราชการไทย นั้น มีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นเพื่อจะสนองตอบต่อผลประโยชน์ของตนเองส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกันนั้นก็เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศควบคู่กันไปด้วย จากปี พ.ศ.2476 ซึ่งมีจำนวนกรม 45 กรมขยายเป็น 102กรม ในปี 2512 และมาก กว่า120 กรมในปี2534 และมีกองถึงกว่า1,300 กองนอกจากนี้การจัดตั้งกรม /กอง ขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นการตั้งขึ้นใหม่จากหน้าที่ซึ่งมีอยู่แล้วมากกว่าตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ใหม่ซึ่งไม่เคยปฏิบัติมาก่อนแต่เป็นงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กรม/กระทรวงอื่นอยู่ แล้ว งานจึงซ้ำซ้อนกันประเวศ วะศีได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญของระบบราชการไทยว่ามีโครงสร้างที่เน้น การรวบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากเกินไปทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม ในการคิดในการดำเนินงานได้ รวมทั้งระบบราชการเน้นในเรื่องการควบคุมงานภายใน รูปของระเบียบต่าง ๆ มากกว่าหน้าที่ผลงาน จึงควรปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการ เสียใหม่โดยลดอำนาจข้าราชการและคืนอำนาจตัดสินใจให้ประชาชนอมรา รักษาสัตย์ และถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์และคณะ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การปรับปรุงระบบของราชการ ด้านการจัดองค์การพบว่า การจัดองค์การราชการก่อให้เกิดปัญหาสำคัญคือโครงสร้างระบบราชการขาดความยืดหยุ่นไม่สามารถ รับภารกิจรัฐบาลในสังคมใหม่ได้โครงสร้างอำนาจการตัดสินใจมีลักษณะรวมอำนาจไว้ในส่วนกลาง กระทรวงขาดเอกภาพในการบริหารงาน ไม่สามารถผนึกกำลังของกรม เพื่อแก้ปัญหา หลักของชาติข้อสรุปสำคัญจากการประเมินผลการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่5 (พ.ศ.2525-2529)ที่กล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการ ที่นอกจากจะไม่สนับสนุนการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6(พ.ศ.2530 - 2534) จึงได้เริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นต้องการปรับปรุงการ บริหารและทบทวนบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศดังนั้น เมื่อมีการยึดอำนาจจากรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) เมื่อวันที่23 กุมภาพันธ์ 2534 จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขประกาศของคณะปฏิวัติในฉบับที่ 218โดยการเสนอพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 ใช้บังคับแทนเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2534ซึ่งมีเจตนารมย์ที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญๆของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เดิมใน 4 ประการ ที่สำคัญคือ1) จำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วรนราชการต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ2) เพื่อให้การบริหารงานในระดับกระทรวงมีเอกภาพสามารถดำเนิน การให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีกำหนดได้3) เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนให้ครบถ้วนชัดเจน เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติราชการ4) กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมดูแลการ ปฏิบัติราชการของข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการในเขตจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้นจากเจตนารมณ์ ทั้ง 4 ประการจึงมีบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ.2534หลายประการที่เปลี่ยนแปลงไปจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่218 ดังมีสาระสำคัญในแต่ละประเด็นดังนี้1. การกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมจากปัญหาเกี่ยวกับการทำงานซ้ำซ้อนกันระหว่างต่างกระทรวงหรือภายในกระทรวงเดียวกันดังที่ได้มีผู้วิจัยและเสนอปัญหาไว้ อาทิเช่นมีหน่วยงานระดับกรมมากกว่ากรมที่ทำงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำหรืองาน ด้านการจัดการศึกษานอกโรงเรียนก็มีหน่วยงานระดับกรมมากกว่า กรม ที่ดูแลเรื่อง ดังกล่าว ดังนี้จึงมีบทบัญญัติไว้ดังนี้"มาตรา 8 การจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการ ตามมาตรา 7 ให้เป็นพระราช บัญญัติ......................................................................................................................... .....................................................................................................................................การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักเลขานุการรัฐมนตรีกรมหรือ ส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ระบุ อำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย""มาตรา 74 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการภายในสำนักเลขานุการ รัฐมนตรีและกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเทียบเท่ากับหรือ มีฐานะเป็นกรมใดยังมิได้ระบุอำนาจหน้าที่ไว้ตามมาตรา 8 วรรคสี่ ให้ดำเนินการ แก้ไขให้เสร็จสิ้นภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"2. การเสริมสร้างเอกภาพในการบริหารงานระดับกระทรวงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานระดับกระทรวง ขาดเอกภาพในการบริหารงาน ไม่สามารถผนึกกำลังของกรมเพื่อแก้ไขปัญหาหลักของชาติ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไข บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงและกรมให้เกิดการร่วมมือและผนึกกำลังกันโดยใช้แผนเป็นเครื่องมือทั้งในระดับกระทรวงและกรม ตามบทบัญญัติ ใน มาตรา 21มาตรา 23 มาตรา 32 ดังนี้"มาตรา 21 กระทรวงนอกจากมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและรัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำ ในกระทรวงกำนดแนวทางและแผน การปฏิบัติราชการของกระทรวงและลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปี ของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย ที่รัฐมนตรีกำหนดรวมทั้งกำกับเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง...................................""มาตรา 23 สำนักงานปรัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรม ใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะรวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบายแนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง ด้วย""มาตรา 32 ...........................................................................................กรมมีอธิบดีเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตาม นโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงและในกรณีที่มีกฏหมาย อื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อำนาจและการปฏิบัติ หน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ และแนวทางและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย"3. การปรับปรุงเรื่องการมอบอำนาจเนื่องจากหลักเกณฑ์วิธีการมอบอำนาจที่กำหนดไว้ตาม ปว.218 เดิมมีข้อ จำกัดเกี่ยวกับวิธีการมอบอำนาจบางกรณีที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ก่อนจัดทำเป็นคำสั่ง ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและไม่สามารถมอบอำนาจช่วยต่อไปได้ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอำนาจ ใหม่โดยให้คำนึงถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนความ รวดเร็วในการปฏิบัติราชการ และการกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับ มอบอำนาจตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 มาตรา 39และมาตรา 40 ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงใหม่ได้แก่1) การเปลี่ยนแปลงวิธีการมอบอำนาจโดยกำหนดให้การมอบอำนาจทุก กรณีให้ทำเป็นหนังสือทั้งนี้ผู้มอบอำนาจสามารถมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ที่กำหนดไว้ในมาตรา38 โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ใดและไม่ต้องมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา2) มีการเพิ่มตำแหน่งของผู้มอบอำนาจมากขึ้น โดยกำหนดเรื่องการมอบอำนาจของ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (ในราชการบริหารส่วนกอง) และตำแหน่งหัวหน้า ส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ (ในราชการบริหาร - ส่วนภูมิภาค ) นอกจากนี้ยังกำหนดตำแหน่งผู้รับมอบอำนาจ เพิ่มมากขึ้นด้วย3) กำหนดให้มีการมอบอำนาจช่วงต่อไปได้ กรณีผู้ดำรงตำแหน่งใดได้มอบอำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถมอบอำนาจเรื่องนั้น ๆ ต่อไปยังรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดได้นอกจากนี้หากได้รับความเห็นชอบจาก ผู้มอบอำนาจข้างต้นแล้วก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่น ได้4. การปรับปรุงอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดใหม่ตามมาตรา57 โดย กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการส่วนภูมิภาคใน จังหวัดโดยยกเว้นข้าราชการทหาร ตุลาการ อัยการ ครู ข้าราชการในมหาวิทยาลัยและ ข้าราชการของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ผู้ว่าราช การจังหวัดเสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการหรือแผนพัฒนาจังหวัดและรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบนอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดให้องค์กรที่ทำหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาแก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดและให้ความเห็นชอบการจัดแผนพัฒนาจังหวัดคือ"คณะกรรมการจังหวัด" (มาตรา53) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัด 1คนปลัดจังหวัดอัยการจังหวัดหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหัวหน้าส่วนราช การประจำจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงต่างๆ กระทรวงละ 1 คนเป็นกรรมการจังหวัดโดยมีหัวหน้า สำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการหากพิจารณาถึงสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงตาม ปว.218 เป็น พ.ร.บ. ระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534อาจสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงใน4ประเด็น หลักตามเจตนารมย์หลักของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียด ปลีกย่อยภายใต้โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานดั้งเดิม ตาม แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางรากฐานไว้นับแต่ เริ่มปฏิรูปการปกครองนั่นเอง
ศาลยุติธรรมไทย
ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่นศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลายศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียวสำนักงานศาลยุติธรรมสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกาการแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรี หรือที่หลายคนเรียกว่า คณะรัฐบาล คือ กลุ่มบุคคล ผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอันทรงเกียรติ มีอำนาจในการบริหารประเทศ เป็นที่น่าภาคภูมิใจในสายตาของคนทั่วไป การดำเนินการใดๆของคณะรัฐมนตรีนี้ ย่อมส่งผลกระทบโดยรวมต่อประชาชนในภาพทั้งประเทศ ดังนั้นจึงถือเป็นคณะบุคคลที่มีความสำคัญสูงสุดในการที่จะนำประเทศไปสู่ทิศทางใด ความหมายและความสำคัญคณะรัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน. รัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรี หรือ คณะรัฐบาล รับผิดชอบร่วมกับ คณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง หรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง (คำว่ารัฐมนตรีนี้ในสมัยโบราณ หมายถึง ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์). รัฐมนตรี (Minister) ของกระทรวงต่างๆนี้ เมื่อได้รับการแต่งตั้งครบทุกกระทรวงตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินร่วมกันนี้ในฐานะผู้นำในการบริหารประเทศ ก็จะเรียกรวมกันว่าเป็น คณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี (Cabinet) จึงเป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ มีอำนาจเรียกประชุม กำหนดเรื่องที่จะประชุม เป็นประธานในที่ประชุม และขอมติจากที่ประชุม ตลอดจนบังคับบัญชา หรือสั่งการในเรื่องต่างๆ องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญในอดีตกำหนดจำนวนรัฐมนตรีไว้แตกต่างกัน ซึ่งปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา171 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน รวมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะไม่เกิน 36 คน คณะรัฐมนตรีในที่นี้ อาจประกอบด้วย รัฐมนตรีประเภทต่างๆได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดก็ได้ แต่จำนวนรวมกันต้องไม่เกินจำนวนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด (กรณีที่ แต่งตั้งบุคคลคนเดียวให้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง จะยึดจำนวนคนเป็นหลักไม่ใช่นับตามตำแหน่ง เช่น เป็นทั้งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะนับว่าเท่ากับคนเดียว) ความสำคัญของคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งมีอำนาจสูงสุดในแต่ละหน่วยงาน จึงอาจสรุปว่า คณะรัฐมนตรีมีความสำคัญใน 3 ด้าน คือ1. ด้านกฎหมาย โดยมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรง และเป็นผู้เสนอกฎหมายต่างๆเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารกิจการราชการต่างๆของประเทศให้เป็นไปโดยราบรื่น2. ด้านนโยบายการเมือง คณะรัฐมนตรีนั้นเป็นองค์กรสูงสุดที่มีกำหนดนโยบายทั้งระดับภายในและภายนอกประเทศ โดยภายในประเทศเป็นผู้กำหนดการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรง ส่วนภายนอกประเทศมีอำนาจกระทำการผูกพันในฐานะตัวแทนของรัฐหรือประเทศและมีผลผูกพัน3. ด้านอำนาจ ถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจทางด้านการบริหาร ซึ่งมีอำนาจกำหนดนโยบายต่างๆซึ่งเท่ากับเป็นการกำหนดทิศทางของประเทศ และยังมีอำนาจบังคับบัญชาสั่งการข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาในทุกระดับทั่วประเทศ ดังนั้นอำนาจที่มากมายเหล่านี้ย่อมกระทบต่อประชาชนโดยรวมอย่างกว้างขวาง ผู้ใช้อำนาจจึงควรใช้อำนาจด้วยความเป็นธรรม ตามหลัก ธรรมาภิบาลคณะรัฐมนตรีนั้น กฎหมายถือว่า เป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็น "ข้าราชการการเมือง" ซึ่งเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุทางการเมือง จะต่างจากข้าราชการประจำทั่วๆไป ดังนั้น คำว่า "คณะรัฐมนตรี" เป็นคำที่ใช้ ในกฎหมาย มุ่งหมายถึงเฉพาะข้าราชการการเมืองผู้มีตำแหน่งรัฐมนตรีดังกล่าว ตรงกับที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า "Council of Ministers" หรือ "Cabinet" ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้ควบคู่กันคือคำว่า "รัฐบาล" หรือ "Government" ในบางครั้งคณะรัฐมนตรีและรัฐบาลมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ บางครั้ง คำว่ารัฐบาลอาจมีความหมายกว้างกว่านั้น เพราะอาจรวมไปถึงข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของฝ่ายบริหาร อีกด้วย เพื่อแยกให้ เห็นว่า เป็นคนละฝ่ายกับภาคเอกชน และคนละฝ่ายกับสมาชิกรัฐสภา จึงอาจกล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรีอยู่ในฐานะที่เป็นทั้งหัวหน้าของคณะรัฐมนตรีและหัวหน้ารัฐบาลไปพร้อมๆกันประวัติความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีที่มาจากคณะเสนาบดีในอดีต ตั้งแต่สมัยอยุธยาเริ่มมีเสนาบดีเวียง วัง คลัง นา รับผิดชอบแต่ละฝ่าย และยังมีเสนาบดีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้แนวคิดเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ได้ถูกเสนอขึ้นมาเป็นครั้งแรกในช่วง ปี รศ.103 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสภาพบ้านเมืองขณะนั้นยังไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเต็มรูปแบบ แต่ก็ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองใหม่ครั้งใหญ่ โดยทรงจัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น มีเสนาบดีเป็นหัวหน้ากระทรวง ทำหน้าที่ในลักษณะของคณะรัฐมนตรีแต่พระมหากษัตริย์ยังคงทรงเป็นประธาน โดยระบบคณะเสนาบดีนี้ได้ดำเนินมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ถวายคำปรึกษา แต่แนวคิดเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีก็ยังคงมีอยู่ดังปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของพระยากัลยาณไมตรี มาตรา 3-5 ซึ่งได้ถูกคัดค้านและไม่มีการนำมาปฏิบัติจริง อย่างไรก็ตามอาจสรุปได้ว่าการบริหารราชการแผ่นดินก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์โดยตรง แม้บางครั้งจะมีคณะบุคคลร่วมทำงานในการเป็นที่ปรึกษาต่างๆ หรือช่วยบริหารงานราชการกระทรวงต่างๆก็ตามคณะรัฐมนตรีเต็มรูปแบบในระบบรัฐสภาคณะแรกของไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เดิมนั้นใช้ชื่อว่า คณะกรรมการราษฎร เกิดขึ้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยสภาผู้แทนราษฎรได้เลือก มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร จากนั้นประธานคณะกรรมการราษฎรจึงได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรให้สภาอนุมัติซึ่งคณะกรรมการราษฎรนี้ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา โดยถือเอาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรเป็นนโยบายของรัฐบาล ในระหว่างที่ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทักท้วงว่าการใช้คำว่า "กรรมการราษฎร" แทน "Minister" หรือ "เสนาบดี"ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ทรงเห็นว่าไม่ไพเราะและ ไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะฟังดูเป็นโซเวียต ในรัฐสภาจึงถกเถียงกันในเรื่องนี้อย่างมาก และที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติให้ใช้คำว่า “รัฐมนตรี” แทน “กรรมการราษฎร” และใช้คำว่า “นายกรัฐมนตรี” แทน “ประธานคณะกรรมการราษฎร” และคำว่า “คณะรัฐมนตรี” แทนคำว่า “คณะกรรมการราษฎร” ซึ่งคำว่าคณะรัฐมนตรีหมายถึง “ข้าราชการผู้ใหญ่ในแผ่นดิน” มิใช่ที่ปรึกษาของแผ่นดินอีกต่อไป และประกาศ ใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 นับแต่นั้นมา ปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น 59 คณะคุณสมบัติของรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 174 ได้กำหนดว่า รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามโดยสรุปดังต่อไปนี้(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์(3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า(4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (8) (9) (11) (12) (13) หรือ (14) (ได้แก่ ติดยาเสพติดยาเสพติดให้โทษ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือถูกคุมขังโดยหมายของศาล เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เป็นต้น)(5) ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีก่อนได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ(6) ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีเมื่อพิจารณาตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฏีกา ตลอดจนระเบียบหรือ มติคณะรัฐมนตรี แล้วอำนาจหน้าที่หลักๆ ของคณะรัฐมนตรีสรุปได้ ดังนี้1. กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน2. บริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์3. รับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน4. เสนอกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รวมทั้งออกพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ในกรณีฉุกเฉินรีบด่วนมีความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือปัดป้องภัยภิบัติสาธารณะ นอกจากนี้มีอำนาจออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายลำดับสูงกว่า5. เป็นผู้บริหารสูงสุดในแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวง วางระเบียบข้อบังคับของแต่ละกระทรวง พิจารณา ตัดสินใจ วินิจฉัยชี้ขาด ลงมติ เรื่องต่างๆตามที่แต่ละกระทรวงเสนอมา6. มีสิทธิเข้าประชุม เพื่อชี้แจงและ แถลงข้อเท็จจริงในที่ประชุมสภา แต่ไม่มีสิทธิออกคะแนนเสียง หรือในกรณีสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมในเรื่องใด ก็ต้องเข้าประชุม และมีสิทธิร้องขอให้มีการประชุมลับ7. ในกรณีมีเรื่องสำคัญและต้องการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา มีสิทธิเสนอให้เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติได้8. เสนอให้มีการออกเสียงประชามติในกรณีกิจการใดที่เป็นเรื่องมีผลดีผลเสียกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่9. อำนาจหน้าที่อื่นๆ ซึ่งกระทำภายใต้พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ เช่น การประกาศใช้และการเลิกใช้กฎอัยการศึก การประกาศสงคราม การอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษ และการถอดถอนฐานันดรศักดิ์ เป็นต้น10. อำนาจหน้าที่เฉพาะอื่นๆ ตามบทบัญญัติในกฎหมายต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย จากบทบาทที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น มิอาจปฏิเสธได้เลยว่า คณะรัฐมนตรี เป็นองค์กรที่ความสำคัญมาก จนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนรัฐนาวา หากมีคณะรัฐมนตรีที่ดีมีศักยภาพ ปกครองประเทศโดยหลักนิติรัฐ ใช้อำนาจในทางที่เหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อชาติ ก็ย่อมจะนำพาประเทศไปสู่ความสำเร็จทัดเทียมนานาประเทศสืบไป คณะรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 59 คณะ ดังนี้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา(ก้อน หุตะสิงห์)ครม.ที่ 1 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 สิ้นสุดลงโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475ครม.ที่ 2 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 1 เมษายน พ.ศ. 2476สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร โดยพระราชกฤษฎีกาครม.ที่ 3 1 เมษายน พ.ศ. 2476 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476สิ้นสุดลงโดย ลาออก และรัฐประหาร (นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา บังคับให้ลาออก)พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน)ครม.ที่ 4 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476-16 ธันวาคม พ.ศ. 2476สิ้นสุดลงโดย ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป)ครม.ที่ 5 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476-22 กันยายน พ.ศ. 2477สิ้นสุดลงโดย ลาออก (สภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)ครม.ที่ 6 22 กันยายน พ.ศ. 2477-9 สิงหาคม พ.ศ. 2480สิ้นสุดลงโดย ลาออก (กระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)ครม.ที่ 7 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480-21 ธันวาคม พ.ศ. 2480สิ้นสุดลงโดย สภาครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)ครม.ที่ 8 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480-16 ธันวาคม พ.ศ. 2481สิ้นสุดลงโดย ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ))ครม.ที่ 9 -10 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481-1 สิงหาคม พ.ศ. 2487สิ้นสุดลงโดย ลาออกพันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ครม.ที่ 11 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487-31 สิงหาคม พ.ศ. 2488สิ้นสุดลงโดย ลาออก (สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง)นายทวี บุณยเกตุครม.ที่ 12 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488-17 กันยายน พ.ศ. 2488สิ้นสุดลงโดย ลาออก (เปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน)หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมชครม.ที่ 13 17 กันยายน พ.ศ. 2488-31 มกราคม พ.ศ. 2489สิ้นสุดลงโดย ยุบสภา พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ครม.ที่ 14 31 มกราคม พ.ศ. 2489-24 มีนาคม พ.ศ. 2489สิ้นสุดลงโดย ลาออก (แพ้มติสภาที่เสนอพระราชบัญญัติที่รัฐบาลรับไม่ได้)นายปรีดี พนมยงค์(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ครม.ที่ 15-16 24 มีนาคม พ.ศ. 2489-23 สิงหาคม พ.ศ. 2489สิ้นสุดลงโดย ลาออก (ถูกใส่ความกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8)พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)ครม.ที่ 17-18 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489-8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร นำโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณคณะทหารแห่งชาตินำโดย จอมพล ผิน ชุณหะวัณ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ครม.ที่ 19-20 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490-8 เมษายน พ.ศ. 2491สิ้นสุดลงโดย ลาออก (คณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง (รัฐประหารเงียบ))จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ))ครม.ที่ 21-26 8 เมษายน พ.ศ. 2491-16 กันยายน พ.ศ. 2500สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์คณะทหารนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในฐานะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500-21 กันยายน พ.ศ. 2500 แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายพจน์ สารสินครม.ที่ 27 21 กันยายน พ.ศ. 2500-1 มกราคม พ.ศ. 2501สิ้นสุดลงโดย ลาออกจอมพล ถนอม กิตติขจรครม.ที่ 28 1 มกราคม พ.ศ. 2501-20 ตุลาคม พ.ศ. 2501สิ้นสุดลงโดย ลาออกและรัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์คณะปฏิวัตินำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501-9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ครม.ที่ 29 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502-8 ธันวาคม พ.ศ. 2506สิ้นสุดลงโดย นายกรัฐมนตรีถึงแก่อสัญกรรมจอมพลถนอม กิตติขจรครม.ที่ 30-31 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร โดยจอมพล ถนอม กิตติขจร (รัฐประหารตนเอง)คณะปฏิวัตินำโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 -17 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี จอมพล ถนอม กิตติขจรครม.ที่ 32 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515-14 ตุลาคม พ.ศ. 2516สิ้นสุดลงโดย ลาออก (เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา)นายสัญญา ธรรมศักดิ์ครม.ที่ 33-34 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518สิ้นสุดลงโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมชครม.ที่ 35 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518-14 มีนาคม พ.ศ. 2518สิ้นสุดลงโดย ไม่ได้รับความไว้วางใจ จากส.ส. ในการแถลงนโยบายพลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชครม.ที่ 36 14 มีนาคม พ.ศ. 2518-20 เมษายน พ.ศ. 2519สิ้นสุดลงโดย ยุบสภาหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมชครม.ที่ 37-38 20 เมษายน พ.ศ. 2519-6 ตุลาคม พ.ศ. 2519สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519-8 ตุลาคม พ.ศ. 2519แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 เป็นผลให้คณะปฏิรูปฯ แปรสภาพเป็นสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนายธานินทร์ กรัยวิเชียรครม.ที่ 39พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ครม.ที่ 40-41พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ครม.ที่ 42-44พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณครม.ที่ 45-46นายอานันท์ ปันยารชุนครม.ที่ 47พลเอก สุจินดา คราประยูรครม.ที่ 48สิ้นสุดลงโดย ลาออก (เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ)นายอานันท์ ปันยารชุนครม.ที่49นายชวน หลีกภัยครม.ที่ 50นายบรรหาร ศิลปอาชาครม.ที่ 51พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธครม.ที่ 52สิ้นสุดลงโดย ลาออก (วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)นายชวน หลีกภัยครม.ที่ 53พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตรครม.ที่ 54-55สิ้นสุดลงโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.)นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลินพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ครม.ที่ 56สิ้นสุดลงโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นายสมัคร สุนทรเวชนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ครม.ที่ 57สิ้นสุดลงโดย ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์นายชวรัตน์ ชาญวีรกูลครม.ที่ 58สิ้นสุดลงโดย ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชนและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะครม.ที่ 59 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรี หรือที่หลายคนเรียกว่า คณะรัฐบาล คือ กลุ่มบุคคล ผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอันทรงเกียรติ มีอำนาจในการบริหารประเทศ เป็นที่น่าภาคภูมิใจในสายตาของคนทั่วไป การดำเนินการใดๆของคณะรัฐมนตรีนี้ ย่อมส่งผลกระทบโดยรวมต่อประชาชนในภาพทั้งประเทศ ดังนั้นจึงถือเป็นคณะบุคคลที่มีความสำคัญสูงสุดในการที่จะนำประเทศไปสู่ทิศทางใด ความหมายและความสำคัญคณะรัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน. รัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรี หรือ คณะรัฐบาล รับผิดชอบร่วมกับ คณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง หรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง (คำว่ารัฐมนตรีนี้ในสมัยโบราณ หมายถึง ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์). รัฐมนตรี (Minister) ของกระทรวงต่างๆนี้ เมื่อได้รับการแต่งตั้งครบทุกกระทรวงตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินร่วมกันนี้ในฐานะผู้นำในการบริหารประเทศ ก็จะเรียกรวมกันว่าเป็น คณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี (Cabinet) จึงเป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ มีอำนาจเรียกประชุม กำหนดเรื่องที่จะประชุม เป็นประธานในที่ประชุม และขอมติจากที่ประชุม ตลอดจนบังคับบัญชา หรือสั่งการในเรื่องต่างๆ องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญในอดีตกำหนดจำนวนรัฐมนตรีไว้แตกต่างกัน ซึ่งปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา171 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน รวมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะไม่เกิน 36 คน คณะรัฐมนตรีในที่นี้ อาจประกอบด้วย รัฐมนตรีประเภทต่างๆได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดก็ได้ แต่จำนวนรวมกันต้องไม่เกินจำนวนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด (กรณีที่ แต่งตั้งบุคคลคนเดียวให้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง จะยึดจำนวนคนเป็นหลักไม่ใช่นับตามตำแหน่ง เช่น เป็นทั้งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะนับว่าเท่ากับคนเดียว) ความสำคัญของคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งมีอำนาจสูงสุดในแต่ละหน่วยงาน จึงอาจสรุปว่า คณะรัฐมนตรีมีความสำคัญใน 3 ด้าน คือ1. ด้านกฎหมาย โดยมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรง และเป็นผู้เสนอกฎหมายต่างๆเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารกิจการราชการต่างๆของประเทศให้เป็นไปโดยราบรื่น2. ด้านนโยบายการเมือง คณะรัฐมนตรีนั้นเป็นองค์กรสูงสุดที่มีกำหนดนโยบายทั้งระดับภายในและภายนอกประเทศ โดยภายในประเทศเป็นผู้กำหนดการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรง ส่วนภายนอกประเทศมีอำนาจกระทำการผูกพันในฐานะตัวแทนของรัฐหรือประเทศและมีผลผูกพัน3. ด้านอำนาจ ถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจทางด้านการบริหาร ซึ่งมีอำนาจกำหนดนโยบายต่างๆซึ่งเท่ากับเป็นการกำหนดทิศทางของประเทศ และยังมีอำนาจบังคับบัญชาสั่งการข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาในทุกระดับทั่วประเทศ ดังนั้นอำนาจที่มากมายเหล่านี้ย่อมกระทบต่อประชาชนโดยรวมอย่างกว้างขวาง ผู้ใช้อำนาจจึงควรใช้อำนาจด้วยความเป็นธรรม ตามหลัก ธรรมาภิบาลคณะรัฐมนตรีนั้น กฎหมายถือว่า เป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็น "ข้าราชการการเมือง" ซึ่งเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุทางการเมือง จะต่างจากข้าราชการประจำทั่วๆไป ดังนั้น คำว่า "คณะรัฐมนตรี" เป็นคำที่ใช้ ในกฎหมาย มุ่งหมายถึงเฉพาะข้าราชการการเมืองผู้มีตำแหน่งรัฐมนตรีดังกล่าว ตรงกับที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า "Council of Ministers" หรือ "Cabinet" ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้ควบคู่กันคือคำว่า "รัฐบาล" หรือ "Government" ในบางครั้งคณะรัฐมนตรีและรัฐบาลมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ บางครั้ง คำว่ารัฐบาลอาจมีความหมายกว้างกว่านั้น เพราะอาจรวมไปถึงข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของฝ่ายบริหาร อีกด้วย เพื่อแยกให้ เห็นว่า เป็นคนละฝ่ายกับภาคเอกชน และคนละฝ่ายกับสมาชิกรัฐสภา จึงอาจกล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรีอยู่ในฐานะที่เป็นทั้งหัวหน้าของคณะรัฐมนตรีและหัวหน้ารัฐบาลไปพร้อมๆกันประวัติความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีที่มาจากคณะเสนาบดีในอดีต ตั้งแต่สมัยอยุธยาเริ่มมีเสนาบดีเวียง วัง คลัง นา รับผิดชอบแต่ละฝ่าย และยังมีเสนาบดีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้แนวคิดเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ได้ถูกเสนอขึ้นมาเป็นครั้งแรกในช่วง ปี รศ.103 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสภาพบ้านเมืองขณะนั้นยังไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเต็มรูปแบบ แต่ก็ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองใหม่ครั้งใหญ่ โดยทรงจัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น มีเสนาบดีเป็นหัวหน้ากระทรวง ทำหน้าที่ในลักษณะของคณะรัฐมนตรีแต่พระมหากษัตริย์ยังคงทรงเป็นประธาน โดยระบบคณะเสนาบดีนี้ได้ดำเนินมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ถวายคำปรึกษา แต่แนวคิดเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีก็ยังคงมีอยู่ดังปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของพระยากัลยาณไมตรี มาตรา 3-5 ซึ่งได้ถูกคัดค้านและไม่มีการนำมาปฏิบัติจริง อย่างไรก็ตามอาจสรุปได้ว่าการบริหารราชการแผ่นดินก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์โดยตรง แม้บางครั้งจะมีคณะบุคคลร่วมทำงานในการเป็นที่ปรึกษาต่างๆ หรือช่วยบริหารงานราชการกระทรวงต่างๆก็ตามคณะรัฐมนตรีเต็มรูปแบบในระบบรัฐสภาคณะแรกของไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เดิมนั้นใช้ชื่อว่า คณะกรรมการราษฎร เกิดขึ้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยสภาผู้แทนราษฎรได้เลือก มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร จากนั้นประธานคณะกรรมการราษฎรจึงได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรให้สภาอนุมัติซึ่งคณะกรรมการราษฎรนี้ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา โดยถือเอาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรเป็นนโยบายของรัฐบาล ในระหว่างที่ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทักท้วงว่าการใช้คำว่า "กรรมการราษฎร" แทน "Minister" หรือ "เสนาบดี"ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ทรงเห็นว่าไม่ไพเราะและ ไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะฟังดูเป็นโซเวียต ในรัฐสภาจึงถกเถียงกันในเรื่องนี้อย่างมาก และที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติให้ใช้คำว่า “รัฐมนตรี” แทน “กรรมการราษฎร” และใช้คำว่า “นายกรัฐมนตรี” แทน “ประธานคณะกรรมการราษฎร” และคำว่า “คณะรัฐมนตรี” แทนคำว่า “คณะกรรมการราษฎร” ซึ่งคำว่าคณะรัฐมนตรีหมายถึง “ข้าราชการผู้ใหญ่ในแผ่นดิน” มิใช่ที่ปรึกษาของแผ่นดินอีกต่อไป และประกาศ ใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 นับแต่นั้นมา ปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น 59 คณะคุณสมบัติของรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 174 ได้กำหนดว่า รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามโดยสรุปดังต่อไปนี้(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์(3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า(4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (8) (9) (11) (12) (13) หรือ (14) (ได้แก่ ติดยาเสพติดยาเสพติดให้โทษ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือถูกคุมขังโดยหมายของศาล เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เป็นต้น)(5) ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีก่อนได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ(6) ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีเมื่อพิจารณาตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฏีกา ตลอดจนระเบียบหรือ มติคณะรัฐมนตรี แล้วอำนาจหน้าที่หลักๆ ของคณะรัฐมนตรีสรุปได้ ดังนี้1. กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน2. บริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์3. รับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน4. เสนอกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รวมทั้งออกพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ในกรณีฉุกเฉินรีบด่วนมีความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือปัดป้องภัยภิบัติสาธารณะ นอกจากนี้มีอำนาจออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายลำดับสูงกว่า5. เป็นผู้บริหารสูงสุดในแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวง วางระเบียบข้อบังคับของแต่ละกระทรวง พิจารณา ตัดสินใจ วินิจฉัยชี้ขาด ลงมติ เรื่องต่างๆตามที่แต่ละกระทรวงเสนอมา6. มีสิทธิเข้าประชุม เพื่อชี้แจงและ แถลงข้อเท็จจริงในที่ประชุมสภา แต่ไม่มีสิทธิออกคะแนนเสียง หรือในกรณีสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมในเรื่องใด ก็ต้องเข้าประชุม และมีสิทธิร้องขอให้มีการประชุมลับ7. ในกรณีมีเรื่องสำคัญและต้องการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา มีสิทธิเสนอให้เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติได้8. เสนอให้มีการออกเสียงประชามติในกรณีกิจการใดที่เป็นเรื่องมีผลดีผลเสียกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่9. อำนาจหน้าที่อื่นๆ ซึ่งกระทำภายใต้พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ เช่น การประกาศใช้และการเลิกใช้กฎอัยการศึก การประกาศสงคราม การอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษ และการถอดถอนฐานันดรศักดิ์ เป็นต้น10. อำนาจหน้าที่เฉพาะอื่นๆ ตามบทบัญญัติในกฎหมายต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย จากบทบาทที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น มิอาจปฏิเสธได้เลยว่า คณะรัฐมนตรี เป็นองค์กรที่ความสำคัญมาก จนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนรัฐนาวา หากมีคณะรัฐมนตรีที่ดีมีศักยภาพ ปกครองประเทศโดยหลักนิติรัฐ ใช้อำนาจในทางที่เหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อชาติ ก็ย่อมจะนำพาประเทศไปสู่ความสำเร็จทัดเทียมนานาประเทศสืบไป คณะรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 59 คณะ ดังนี้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา(ก้อน หุตะสิงห์)ครม.ที่ 1 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 สิ้นสุดลงโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475ครม.ที่ 2 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 1 เมษายน พ.ศ. 2476สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร โดยพระราชกฤษฎีกาครม.ที่ 3 1 เมษายน พ.ศ. 2476 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476สิ้นสุดลงโดย ลาออก และรัฐประหาร (นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา บังคับให้ลาออก)พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน)ครม.ที่ 4 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476-16 ธันวาคม พ.ศ. 2476สิ้นสุดลงโดย ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป)ครม.ที่ 5 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476-22 กันยายน พ.ศ. 2477สิ้นสุดลงโดย ลาออก (สภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)ครม.ที่ 6 22 กันยายน พ.ศ. 2477-9 สิงหาคม พ.ศ. 2480สิ้นสุดลงโดย ลาออก (กระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)ครม.ที่ 7 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480-21 ธันวาคม พ.ศ. 2480สิ้นสุดลงโดย สภาครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)ครม.ที่ 8 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480-16 ธันวาคม พ.ศ. 2481สิ้นสุดลงโดย ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ))ครม.ที่ 9 -10 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481-1 สิงหาคม พ.ศ. 2487สิ้นสุดลงโดย ลาออกพันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ครม.ที่ 11 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487-31 สิงหาคม พ.ศ. 2488สิ้นสุดลงโดย ลาออก (สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง)นายทวี บุณยเกตุครม.ที่ 12 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488-17 กันยายน พ.ศ. 2488สิ้นสุดลงโดย ลาออก (เปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน)หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมชครม.ที่ 13 17 กันยายน พ.ศ. 2488-31 มกราคม พ.ศ. 2489สิ้นสุดลงโดย ยุบสภา พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ครม.ที่ 14 31 มกราคม พ.ศ. 2489-24 มีนาคม พ.ศ. 2489สิ้นสุดลงโดย ลาออก (แพ้มติสภาที่เสนอพระราชบัญญัติที่รัฐบาลรับไม่ได้)นายปรีดี พนมยงค์(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ครม.ที่ 15-16 24 มีนาคม พ.ศ. 2489-23 สิงหาคม พ.ศ. 2489สิ้นสุดลงโดย ลาออก (ถูกใส่ความกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8)พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)ครม.ที่ 17-18 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489-8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร นำโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณคณะทหารแห่งชาตินำโดย จอมพล ผิน ชุณหะวัณ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ครม.ที่ 19-20 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490-8 เมษายน พ.ศ. 2491สิ้นสุดลงโดย ลาออก (คณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง (รัฐประหารเงียบ))จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ))ครม.ที่ 21-26 8 เมษายน พ.ศ. 2491-16 กันยายน พ.ศ. 2500สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์คณะทหารนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในฐานะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500-21 กันยายน พ.ศ. 2500 แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายพจน์ สารสินครม.ที่ 27 21 กันยายน พ.ศ. 2500-1 มกราคม พ.ศ. 2501สิ้นสุดลงโดย ลาออกจอมพล ถนอม กิตติขจรครม.ที่ 28 1 มกราคม พ.ศ. 2501-20 ตุลาคม พ.ศ. 2501สิ้นสุดลงโดย ลาออกและรัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์คณะปฏิวัตินำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501-9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ครม.ที่ 29 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502-8 ธันวาคม พ.ศ. 2506สิ้นสุดลงโดย นายกรัฐมนตรีถึงแก่อสัญกรรมจอมพลถนอม กิตติขจรครม.ที่ 30-31 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร โดยจอมพล ถนอม กิตติขจร (รัฐประหารตนเอง)คณะปฏิวัตินำโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 -17 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี จอมพล ถนอม กิตติขจรครม.ที่ 32 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515-14 ตุลาคม พ.ศ. 2516สิ้นสุดลงโดย ลาออก (เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา)นายสัญญา ธรรมศักดิ์ครม.ที่ 33-34 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518สิ้นสุดลงโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมชครม.ที่ 35 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518-14 มีนาคม พ.ศ. 2518สิ้นสุดลงโดย ไม่ได้รับความไว้วางใจ จากส.ส. ในการแถลงนโยบายพลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชครม.ที่ 36 14 มีนาคม พ.ศ. 2518-20 เมษายน พ.ศ. 2519สิ้นสุดลงโดย ยุบสภาหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมชครม.ที่ 37-38 20 เมษายน พ.ศ. 2519-6 ตุลาคม พ.ศ. 2519สิ้นสุดลงโดย รัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519-8 ตุลาคม พ.ศ. 2519แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 เป็นผลให้คณะปฏิรูปฯ แปรสภาพเป็นสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนายธานินทร์ กรัยวิเชียรครม.ที่ 39พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ครม.ที่ 40-41พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ครม.ที่ 42-44พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณครม.ที่ 45-46นายอานันท์ ปันยารชุนครม.ที่ 47พลเอก สุจินดา คราประยูรครม.ที่ 48สิ้นสุดลงโดย ลาออก (เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ)นายอานันท์ ปันยารชุนครม.ที่49นายชวน หลีกภัยครม.ที่ 50นายบรรหาร ศิลปอาชาครม.ที่ 51พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธครม.ที่ 52สิ้นสุดลงโดย ลาออก (วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)นายชวน หลีกภัยครม.ที่ 53พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตรครม.ที่ 54-55สิ้นสุดลงโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.)นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลินพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ครม.ที่ 56สิ้นสุดลงโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นายสมัคร สุนทรเวชนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ครม.ที่ 57สิ้นสุดลงโดย ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์นายชวรัตน์ ชาญวีรกูลครม.ที่ 58สิ้นสุดลงโดย ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชนและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะครม.ที่ 59 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)